ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม
เมื่อพูดถึงการฉีดฟิลเลอร์ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ คนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนที่ยังรู้สึกไม่มั่นใจว่าการฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม จะมีผลข้างเคียงตามมาภายหลังหรือไม่ เพื่อคลายข้อสงสัย และสร้างความสบายใจให้กับผู้ที่กำลังตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ หมอมีข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ในมุมต่าง ๆ มาฝากครับ
สารบัญฟิลเลอร์อันตรายไหม
ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ?
การฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม? กรณีนี้ต้องอธิบายเพิ่มว่า ฉีดฟิลเลอร์ประเภทไหน? และฉีดกับใคร? ครับ
เมื่อกล่าวถึงฟิลเลอร์ (Filler) ในทางการแพทย์ จะหมายถึง สารฉีดเติมเต็ม (Injectible Filler) ซึ่งในต่างประเทศ มีหลายประเภทดังนี้
- HA (Hyaluronic Acid) เป็นฟิลเลอร์ที่นิยมและปลอดภัยที่สุด สามารถย่อยสลายได้ และสามารถฉีดใหม่ได้เรื่อย ๆ มีใช้แพร่หลายทั่วโลก รวมถึงใช้ในคลินิกความที่ได้มาตรฐานในปัจจุบัน
และ “ฟิลเลอร์” ที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและที่หมอในประเทศไทยกล่าวถึง จะหมายถึง HA (Hyaluronic Acid) เป็นฟิลเลอร์แท้ที่มีความปลอดภัยครับ
นอกจากนี้ยังมีฟิลเลอร์ประเภทอื่น ๆ เช่น
- Collagen จากสัตว์ ไม่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากจะมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ แพ้บวมแดงได้ง่าย ซึ่งทางการแพทย์ไม่แนะนำ เพราะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายกับร่างกาย
- Transplanted Fat (เติมไขมัน) ฟิลเลอร์ที่ร่างกายผลิตเองตามธรรมชาติ นั่นก็คือ ไขมัน เหมาะกับคนที่ต้องการฉีดครั้งละมาก ๆ 10-20 cc ขึ้นไป ต้องมีกระบวนการดูดไขมันและการปลูกถ่าย
- Biosynthetic polymers เช่น Calcium hydroxylapatite, polymethylmethacrylate, ซิลิโคนเหลว กลุ่มนี้จะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่หมด ผิวจะไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ ทำให้ค้างอยู่ในชั้นผิว ไม่ปลอดภัย และไม่แนะนำให้ใช้ รวมถึงไม่ผ่าน อย.ครับ
หากใครเคยอ่านข่าว หรือได้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ทั้งในและต่างประเทศ ฉีดแล้วหน้าพัง หน้าเน่า ฟิลเลอร์เป็นก้อน ฟิลเลอร์ไหล หากเข้าไปดูเนื้อข่าว หรือดูรายละเอียดจริง ๆ จะพบว่าเป็นฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic polymers ครับ และฉีดกับหมอกระเป๋าครับ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฉีดฟิลเลอร์แท้ (Hyaluronic Acid) แล้วจะปลอดภัย 100% ฉีดฟิลเลอร์แท้ก็มีโอกาสเกิดอันตรายได้ครับ หากฉีดกับหมอกระเป๋า ดังนั้นการเลือกฉีดฟิลเลอร์กับใครเป็นอีกหนึ่งหัวใจทำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย แม้จะเป็นฟิลเลอร์แท้ ที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย แต่หากฉีด ฉีดผิดตำแหน่ง ไม่รู้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะจุดที่ใกล้ดวงตา อย่างการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
ตัวอย่างเคสฉีดฟิลเลอร์จมูก และฉีดฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม ผิดตำแหน่ง ฉีดฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด ทำให้มีเนื้อตายชั่วคราว (จุดสีดำ ๆ) หากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง และใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์แท้ ที่ได้มาตรฐาน เคสนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์อย่างทันท่วงทีก็จะมีความปลอดภัยครับ
ฟิลเลอร์อยู่ได้นานแค่ไหน ?
อย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อแรกว่าฟิลเลอร์มีหลายประเภท ฟิลเลอร์อยู่ได้นานแค่ไหน หากเป็นฟิลเลอร์ปลอม ในกรณีนี้หมอจะหมายถึงฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic polymers ซึ่งเป็นฟิลเลอร์ราคาถูกที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายไม่หมด อยู่ได้เกิน 5 ปี และยังหมายรวมถึง ฟิลเลอร์ (Hyaluronic Acid) ที่มีการลักลอบหิ้วจากต่างประเทศ ไม่ได้ถูกควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม(ต้องเก็บในอุณหภูมิ 0-25 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนหรือเย็นมากก็จะทำให้เนื้อฟิลเลอร์เสื่อมสภาพลง) มีราคาถูกเพราะนำเข้าแบบผิดกฏหมาย และที่ไม่ผ่าน อย. ประเทศไทย ฟิลเลอร์ลักษณะนี้จะเสื่อมคุณภาพลงแล้วจึงย่อยสลายไว มีอายุการใช้งานไม่คงตัว ไม่สามารถระบุอายุการใช้งานได้ครับ
จากเคสตัวอย่างที่หมอเคยเห็น คือคนไข้ที่ไปฉีดฟิลเลอร์หิ้วมา จากผลลัพธ์ที่ควรอยู่ได้ 1 ปี เหลืออยู่ได้เพียง 3-4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเมื่อถ้าเทียบราคากับฟิลเลอร์แท้ ก็ยังถือว่าฟิลเลอร์แท้มีความคุ้มค่ามากกว่าครับ
หากเป็นฟิลเลอร์แท้ (Hyaluronic Acid) ฉีดฟิลเลอร์ 1 ครั้ง ฟิลเลอร์อยู่ได้นานแค่ไหน อายุการใช้งานจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ/รุ่น ของฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับบริเวณนั้น ๆ รวมถึงการดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ร่วมด้วย แต่ส่วนใหญ่โดยมาตรฐานของฟิลเลอร์แล้ว จะมีอายุของตัวยาอยู่ได้ 6-18 เดือนครับ
อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมมีอะไรบ้าง ?
สำหรับฟิลเลอรร์ปลอม ซึ่งเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายไปตามธรรมชาติ เป็นฟิลเลอร์ที่มีความอันตรายที่ควรระวัง เพราะมีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์ย้อยผิดรูปนั้นเอง ซึ่งไม่แนะนำให้ฉีดสารเติมเต็มชนิดอย่างมาก หากพลาดฉีดไป อันตรายที่จะเกิดขั้นขึ้นได้ ได้แก่
- เนื้อตาย เพราะเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ จะพบได้บ่อยที่สุดในฟิลเลอร์การเติมไขมัน (Transplanted fat)
แต่หากเป็นฟิลเลอร์แท้ HA (Hyaluronic Acid) หมอสามารถตรวจพบการอุดตันในเส้นเลือดได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีผิวขณะฉีดและหลังฉีด และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีเนื่องจาก ฟิลเลอร์HA (Hyaluronic Acid) นั้นสามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้โดย เอนไซม์ที่ชื่อ Hyaluronidase สามารถละลายหมดได้ 100% ทำให้รักษาให้เนื้อกลับคืนมาได้ 100%
- ตาบอด (blindness) พบได้ในการเติมไขมัน (Transplanted fat) มากที่สุดแต่หากฉีดฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronic Acid โดยแพทย์ที่ฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ความเสี่ยงในการเกิดตาบอด ก็จะน้อยมาก ๆ
- แพ้บวมแดง (reaction,granuloma) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็งเมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี เกิดขึ้นได้ในฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic polymers มากที่สุด
- การอักเสบติดเชื้อ (infection) ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก และพบได้บ่อยในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน
- การย้อยเป็นก้อนแข็ง (migration) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ พบได้มากที่สุดในฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic polymers ครับ
“ ข้อควรรู้ : การฉีดฟิลเลอร์อย่างปลอดภัย จำเป็นต้องฉีดฟิลเลอร์แท้ HA (Hyaluronic Acid) และฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการใช้ฟิลเลอร์เท่านั้นครับ”
ผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่เป็นอันตราย
หากฉีดฟิลเลอร์แท้ (Hyaluronic Acid) อาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตรายครับ ตัวอย่างเช่น
- อาการบวมเข็มหลังฉีด หรือผื่นคัน สามารถหายไปเองได้ภายใน 1 สัปดาห์
- อาการบวมฟิลเลอร์ โดยหลังฉีดฟิลเลอร์จะยังไม่เข้าที่ 100% อาจมีอาการบวมจากตัวฟิลเลอร์ แต่จะค่อย ๆ เข้าที่ใน 2 สัปดาห์
- เกิดรอยเข็มเล็ก ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถแกะพาสเตอร์ที่ติดออกได้ใน 1 ชั่วโมงหลังฉีด
เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ ให้ปลอดภัย
- ใช้ฟิลเลอร์แท้ : การฉีดฟิลเลอร์ที่ปลอดภัยต้องเริ่มจากการเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ Hyaluronic Acid ที่ได้มาตรฐาน สามารถย่อยสลายได้ในระยะ 6-18 เดือน มี อย.รับรอง
- การเลือกใช้เข็มอย่างเหมาะสม : เข็มแหลมจะใช้ฉีดฟิลเลอร์ชิดกระดูกเท่านั้น เข็มทู่จะใช้ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นเนื้อที่ตื้นขึ้นมา หรือสามารถฉีดชิดกระดูกได้ในบางจุด ถึงแม้จะเป็นเข็มทู่ก็ไม่สามารถหลบหลีกเส้นเลือดได้ 100% ต้องอาศัยเทคนิคการฉีดในข้อต่อ ๆ ไปช่วยเสริม
ในยุคแรก ๆ ของ Hyaluronic Acid มีหมอจำนวนไม่น้อยที่ประมาทว่าใช้เข็มทู่แล้วจะไม่เข้าเส้นเลือด จึงทำให้เกิดเคสเนื้อตายหลายเคส ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้เทคนิคการฉีดอย่างปลอดภัย ก็สามารถลดความเสี่ยงจุดนี้ลงได้มากครับ
สำหรับเข็มทู่ ควรใช้ยาชาฉีดนำเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ ก่อน ยาชาเป็นน้ำจะช่วยให้เส้นเลือดลื่น และลดโอกาสที่เข็มทู่จะเข้าเส้นเลือดได้
ทั้งเข็มทู่และเข็มแหลมควรเลือกใช้ขนาดของเข็มที่ไม่เล็กจนเกินไป ขนาดที่เหมาะสมคือ 22G-25G เข็มที่ขนาดเล็กเกินไปมีข้อเสียดังนี้
- เพิ่มความเสี่ยงในการแทงเข้าหลอดเลือด
- ขณะที่หมอดูดเข็มเพื่อทดสอบก่อนฉีด ถ้าเข็มเล็กเกินไป อาจจะทำให้ดูดไม่เจอเลือดถึงแม้จะเข้าเส้นเลือด
- ขณะที่เดินยาถ้ารูเข็มเล็กจะเพิ่มแรงดัน และเพิ่มโอกาสที่ฟิลเลอร์จะเข้าเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น
3.ก่อนที่หมอจะดันยาทุกครั้ง :เทคนิคที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยหมอจะต้องทดสอบโดยการดูดเข็มเข้ามาก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเข็มไม่เข้าเส้นเลือด โดยจะต้องดูดค้างไว้อย่าน้อย10วินาที จึงจะมั่นใจและเดินยาได้ หากเข็มมีการตัดผ่านเส้นเลือดขณะที่ดูดเข้มเข้ามา จะมีเลือดผสมเข้ามาในเข็มด้วย
4.ขณะที่เดินยาหมอจะคลำปลายเข็ม : เทคนิคเช่นนี้ทำเพื่อตรวจสอบทุกครั้งว่ามีฟิลเลอร์ออกจากปลายเข็มและทำให้เนื้อยกขึ้น เต็มขึ้น เหมือนเป่าลมลูกโป่งแล้วเห็นลูกโป่งฟองขึ้น จะมั่นใจได้ว่าฟิลเลอร์ไม่ได้เข้าหลอดเลือด
5.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีผิวคนไข้ : ขณะเดินยาหมอจะคอยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสีผิวคนไข้ ถ้าฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด สีผิวจะซีดหรือแดงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ก็จะสามารถฉีดสลายเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที
วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์
เพื่อให้การฉีดฟิลเลอร์ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน สวยงาม ก่อนฉีดควรศึกษาข้อมูล ดังนี้
- เลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ : คลินิกที่ได้มาตรฐาน สังเกตจาก ป้ายชื่อสถานพยาบาล และเลขที่ใบอนญาต 11 หลัก ว่าเปิดอย่างถูกต้อง ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และควรตั้งอยู่ในทำเลที่กว้างขวาง สะอาด เช่น ห้างสรรพสินค้า สามารถเดินทางเข้ามาติดต่อที่คลินิกได้สะดวก และควรมีการติดตามผลหลังทำทุกเคส แนะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวก่อน-หลัง ทำหัตถการได้อย่างละเอียด
ตัวอย่างลักษณะคลินิกฉีดฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน
- ฉีดฟิลเลอร์แท้เท่านั้น : ในปัจจุบันยังมีข่าวการใช้ฟิลเลอร์ปลอม ที่อันตรายมาฉีดอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ (HA) ที่ปลอดภัย ควรศึกษาจุดสังเกตฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ และขอตรวจสอบกล่องก่อนฉีดทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นของแท้ แกะกล่องใหม่ครับ
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้
- มีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกำกับภาษาไทย
- เลข Lot. ตรงกันทุกจุด ทั้งกล่อง ซอง หลอด สติกเกอร์
- สามารถสอบถามเลข lot. กับบริษัทนำเข้าได้
- เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์มีประสบการณ์ : ก่อนตัดสินใจว่าจะฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี การฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ประสบการณ์ของแพทย์ ถือเป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ แพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ควรมีประสบการณ์ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงเลือกรุ่นฟิลเลอร์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ไม่เรียบเนียนไปกับผิว หรืออันตรายอื่น ๆ และยังผลลัพธ์ที่สวยและเป็นธรรมชาติครับ
- เลือกคลินิกที่มีรีวิว : รีวิวเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันผลลัพธ์ และความความปลอดภัย โดยต้องพิจารณาจากรีวิวของผู้ใช้บริการจริง ซึ่งการดูรีวิวของคลินิกต่าง ๆ ไม่ควรดูแต่ที่เป็นรูปถ่าย หรือในช่องทางของคลินิกเพียงอย่างเดียวครับ เพราะตกแต่งได้ง่าย ควรดูรีวิวจากช่องทางที่เป็น กลาง มีความน่าเชื่อถือ คลินิกไม่สามารถลบได้ เช่น รีวิวFacebook พันทิป เป็นต้น
สรุป
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม? อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่ามีทั้งอันตรายและไม่อันตรายขึ้นอยู่กับฉีดฟิลเลอร์อะไร และฉีดกับใครครับ ควรฉีดโดยกับแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้น หากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดี มีประสบการณ์สูงก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาหลังฉีดฟิลเลอร์ได้ และยังสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุดครับ
สำหรับที่ V Square Clinic มีทีมแพทย์ผ่านการเทรนนิ่งเพื่อพัฒนาฝีมือและเทคนิค จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมามากมาย ใส่ใจทุกรายละเอียด มีประสบการณ์การฉีดฟิลเลอร์เฉลี่ย 5-10 ปี รวมถึงมีการผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์แท้แบรนด์ดังที่แพทย์ทั่วโลกยอมรับ พร้อมกับเทคนิคเฉพาะที่ช่วยลดอาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ได้ครับ